หน้าแรก / ความรู้สุขภาพ

ความรู้เรื่องโรคคอตีบ

นอกจากนี้สารพิษที่เชื้อโรคคอตีบปล่อยออกมายังสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบด้วย โรคคอตีบเป็น
โรคที่มีอัตราการตายสูงมากในผู้ป่วย 10 ราย จะมีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย ซึ่งผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากทางเดินหายใจอุดตันหรือจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวก็ได้
การติดต่อของโรคคอตีบ
ติดต่อทางการหายใจ จากการไอ จามรดกันหรือพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด เชื้อโรคจะเข้าสู่ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งติดต่อโดยการใช้ภาชนะร่วมกันเช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การอมดูดของเล่นร่วมกันใน
เด็กเล็กระยะฟักตัวของโรค 1-7 วัน เฉลี่ย 3 วัน ผู้ป่วยโรคคอตีบที่ยังไม่มีอาการสามารถแพร่เชื้อที่อยู่ในจมูกหรือลำคอไปสู่ผู้อื่นได้เพราะเชื้อโรคจะอยู่ในลำคอผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา ประมาณ 2 สัปดาห์
อาการผู้ป่วยโรคคอตีบ
เริ่มต้นด้วยมีไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก แต่ไม่มีน้ำมูก มีอาการไอก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ต่อมาจะมีแผ่นฝ้าสีขาวอมเทาติดแน่นบริเวณ
ทอนซิลช่องคอหรือโพรงจมูก กล่องเสียง ในรายอาการรุนแรง จะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ การหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต
การวินิจฉัยโรค
อาศัยอาการทางคลินิก เช่น มีไอเสียงก้อง เจ็บคอ ตรวจพบแผ่นเยื่อในลำคอบริเวณทอนซิลและลิ้นไก่ มีอาการของทางเดินหายใจตีบตัน
การวินิจฉัยที่แน่นอน คือ การเพาะเชื้อโรคคอตีบ โดยใช้ไม้พันสำลีสำหรับป้ายคอ(throat swab) ป้ายเชื้อบริเวณแผ่นเยื่อหรือใต้แผ่นเยื่อหรือจากแผ่นเยื่อที่หลุดออกมาเนื่องจากต้องใช้อาหารเลี้ยงเชื้อพิเศษในการเพาะเชื้อ

จึงควรจะต้องติดต่อแจ้งห้องปฏิบัติการ เมื่อนำส่ง ตัวอย่างเมื่อเพาะได้เชื้อโรคคอตีบ จะต้องทดสอบต่อไปว่าเป็นสายพันธุ์ที่สร้างสารพิษหรือไม่
การรักษา
โรคนี้รักษาให้หายได้ ด้วยการไปพบแพทย์เพื่อสั่งยาปฏิชีวนะให้รับประทานนาน 14 วัน ซึ่งสามารถหยุดการแพร่เชื้อโรคได้ภายใน 48 ชั่วโมง หลังเริ่มให้ยาบาง
รายอาจได้รับยาทำลายพิษของเชื้อโรคคอตีบร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่มีอาการอุดกั้นทางเดินหายใจต้องเจาะคอ เพื่อช่วยหายใจ หลังจากหายเป็นปกติผู้ป่วยต้องได้รับวัคซีนป้องกัน
โรคคอตีบให้ครบถ้วนตามเกณฑ์เพราะการป่วยด้วยโรคคอตีบไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้มีระดับเพียงพอต่อการป้องกันโรคคอตีบในการติดเชื้อครั้งต่อไป

เมื่อเด็กอายุ 5 ปี จะได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบรวม 5 ครั้ง และจะได้รับวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก กระตุ้นอีก 1 ครั้ง เมื่อเด็กเข้าเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 หากพบเด็กได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ ขอให้แนะนำผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนในวันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านให้
บริการวัคซีนและให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ
โรคคอตีบป้องกันได้ด้วยพวกเราทุกคน
1. นำบุตรหลานไปรับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด แม้ผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคคอตีบแล้ว
ก็ต้องได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคคอตีบในอนาคตเพราะการป่วยเป็นโรคคอตีบไม่ก่อให้เกิด
ภูมิคุ้มกันต่อการเกิดโรคซ้ำได้
2. โรคนี้รักษาให้หายได้ มีอาการไข้ ไอก้อง เจ็บคอ รีบมาพบแพทย์เพื่อสั่งยา
ปฏิชีวนะให้รับประทาน ห้ามซื้อยารับประทานเองเพราะยาอาจไม่ตรงกับเชื้อโรคและอาจทำ
ให้อาการของโรครุนแรงขึ้นถึงขั้นเสียชีวิตได้
3. มีพฤติกรรมสุขภาพดีและถูกสุขลักษณะ เช่น ไอหรือจาม ให้ปิดปาก ปิดจมูก
เป็นหวัดหรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด
อยู่เสมอ
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคคอตีบ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
อื่น ๆ และในที่ผู้คนอยู่กันแออัด
5. ถ้ามีผู้ป่วยในบ้านควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก น้ำมูกน้ำลายและเสมหะของ
ผู้ป่วยต้องทำลายอย่างถูกสุขลักษณะหรือราดน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำยาผสมผงฟอกขาว
อย่าลืมนำบุตรหลานไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบให้ครบเกณฑ์ที่กำหนด

 >>>แพคเกจวัคซีนเสริมสำหรับเด็กกดที่นี่<<<

>>>แพคเกจวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับทารกแรกเกิดกดที่นี่<<<

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690