หน้าแรก / ความรู้สุขภาพ

ภาวะลิ้นติด

สวัสดีครับพบกับหมอแบงก์ กุมารแพทย์ประจำ รพ.รวมแพทย์ฉะเชิงเทรากันอีกครั้งนะครับ วันนี้จะมานำเสนอภาวะของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่มักกังวลและพบได้บ่อย
ซึ่งนั่นก็คือ "ภาวะลิ้นติด" ครับ


ก่อนอื่นเรามารู้จักพังผืดใต้ลิ้นก่อนว่า คืออะไรครับ
พังผืดใต้ลิ้น (Lingual frenulum) คือ เยื่อบางๆที่อยู่บริเวณโคนลิ้นทารก สามารถพบได้ในทารกแรกเกิดทุกราย
แต่...หากเยื่อพังผืดนี้ ยื่นไปเกาะที่ลิ้น จะทำให้เกิด ภาวะลิ้นติด (Ankyloglossia, tongue-tie)
โดยสามารถแบ่งความรุนแรงของ ภาวะลิ้นติด ได้จากความยาวพังผืดที่ยื่นมาเกาะลิ้น โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง

พังผืดใต้ลิ้นจะสามารถส่งผลกระทบต่อทารกอย่างไรบ้าง ?
1.ดูดนมได้น้อย-น้ำหนักลด เนื่องจากลิ้นไม่สามารถแลบได้ยาวถึงลานนม ข้อสังเกตคือ เด็กจะดูดเบา ดูดแล้วปากหลุดจากหัวนมบ่อย
หงุดหงิดเนื่องจากรับนมได้ไม่ทันความต้องการ ส่งผลให้พักผ่อนได้ไม่เพียงพอ ร่างกายเจ็บป่วยง่ายและการเจริญเติมโตช้า
ข้อควรระวังที่สำคัญ : เมื่อทารกน้ำหนักลดจากการได้รับนมน้อย สิ่งที่มักเกิดตามมาคือ "ภาวะตัวเหลือง" ซึ่งในบางรายอาจต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อส่องไฟลดค่าเหลืองครับ
2.หัวนมมารดาแตก/ฉีกขาด เมื่อทารกแลบลิ้นไม่ถึงลานนมจึงต้องใช้เหงือกช่วยดูดแทน เนื่องจากเป็นท่าทางที่ผิด จึงส่งผลให้มารดาเจ็บหรือเกิดแผลฉีกขาดบริเวณหัวนม
หรือในกรณีรุนแรงอาจติดเชื้อได้ ส่งผลให้ทารกต้องหยุดการดูดเต้าและมารดาต้องปั๊มนมใส่ขวดแทนระหว่างรักษา
3.ออกเสียงไม่ชัด ในพยัญชนะ เช่น "ร, ล, L, S, Z, TH, T, D," โดยทั่วไปเราจะเริ่มทราบว่าเด็กพูดไม่ชัด หลังเริ่มออกเสียงคำ 1 พยางค์ได้ คือ อายุประมาณ12เดือนขึ้นไป
บางรายอาจมีอาการพูดช้าร่วมด้วย

การรักษาโดยตัดพังผืดตอนโต จะต้องดมยาสลบ(การตัดตั้งแต่แรกเกิด ใช้การป้ายยาชา) อีกทั้งจะมีแผลที่ใหญ่ และเลือดออกมากกว่าการตัดสินใจทำตั้งแต่แรกเกิด

การรักษาคือ การตัดพังผืดใต้ลิ้น (Frenulotomy, frenotomy) ไม่มียารับประทานหรือใช้ทาแทนได้
แต่ ยังไม่ต้องกังวลนะครับ แม้มีคำว่า "ตัด" ก็จริง แต่ไม่น่ากลัวเลย ก่อนอื่นเราลองมาอ่านวิธีการกันครับ รับรองว่าจะช่วยให้เข้าใจง่ายและสบายใจขึ้นอย่างแน่นอน
ขั้นตอนมีดังนี้
1.ทายาชา
2.สะกิด (หรือจะเรียกว่าตัดพังผืดก็ได้) ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่นานครับ บางรายแค่ 1 นาทีก็เสร็จแล้ว
3.จากนั้นทำความสะอาดเช็ดแผล
เท่านี้เสร็จแล้วครับ ทารกสามารถทานนมต่อในมื้อถัดไปได้เลย ไม่ต้องเย็บแผลหรือแปะผ้าก๊อซคาไว้ครับ
***ที่สำคัญ : ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องฉีดยาชาให้เจ็บ เนื่องจากเยื่อนั้นบางมาก และมีเส้นประสาทหรือหลอดเลือดเพียงแค่เล็กน้อย
และแพทย์ผู้ทำหัตถการนั้นเป็นคุณหมอผ่าตัดที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การตัดพังผืดมามากราย

เป็นอย่างไรบ้างครับ ไม่น่ากลัวเลยใช่ไหมครับ
หลังจากอ่านบทความนี้คาดว่า จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เห็นถึงผลเสียของภาวะลิ้นติด เข้าใจความสำคัญของการตัดพังผืดใต้ลิ้น
คลายความกังวลเนื่องจากไม่ต้องดมยาสลบและขั้นตอนนั้นง่าย และไม่ซับซ้อน

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690