หน้าแรก / ความรู้สุขภาพ

ปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรัง ต้องระวังโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

   โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ เป็นโรคที่พบได้ในบ่อยช่วงอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป มีอาการปวดหลังระดับเอว เมื่ออายุมากขึ้นมีการใช้งานมานานกระดูกสันหลังจะเกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง และข้อกระดูกสันหลัง เมื่อมีการเสื่อมเกิดขึ้น กระดูกสันหลังก็จะมีการสร้างพังผืดหนาตัวขึ้นมา มีกระดูกงอก หรือว่าหินปูนสร้างมากขึ้น เบียดโพรงกระดูกสันหลังซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทไขสันหลังมากขึ้นจึงมีอาการปวดร้าวลงขา ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

อาการของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
1.ปวดหลังร้าวลงขา ใต้เข่า
2.ปวดมาก เวลาเดิน ปวดน่องมาก ต้องหยุดเดิน หรือนั่งเป็นระยะ
3.ถ้าอาการปวดรุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการชา ขาอ่อนแรง
4.การขับถ่ายผิดปกติ กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้
5.อาการอาจดีขึ้นเมื่อคนป่วยได้ก้มตัว หรือนั่งลง

การวินิจฉัยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
1.วินิจฉัยโรคได้จากประวัติเดิมของคนไข้ อาการปวดหลังร้าวลงขา
2.ส่ง X-Ray ภาพกระดูกสันหลัง ปกติจะพบว่ามีกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
3.หากต้องการทราบว่าเป็นมากน้อยเพียงใด จะส่งตรวจ MRI หรือ X-Ray คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ช่วยระบุตำแหน่ง และขอบเขตของโรคว่าเป็นมากหรือน้อย และช่วยประกอบการรักษาเรื่องผ่าตัด

การรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
1.คนไข้ที่มีอาการไม่มาก จะรักษาโดยการทานยา ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดเส้นประสาท รวมถึงยาผ่อนคลาย เพื่อให้คนไข้พักผ่อนได้ นอกจากนั้นยังมีการทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดหลัง กระตุ้นไฟฟ้า รวมถึงการบริหารกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหน้าท้อง
2.ในกรณีที่การรักษาโดยการทานยาไม่ได้ผล คนไข้มีอาการปวดตลอดเวลา และคนไข้ไม่พร้อมที่จะทำการผ่าตัด ก็จะมีการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทสันหลัง เป็นการขยายโพรงกระดูกสันหลังได้ระดับหนึ่ง เพื่อช่วยระงับอาการปวดได้ แต่อาจจะมีอาการปวดขึ้นมาอีกได้ในภายหลัง
3.การรักษาโดยการผ่าตัด จะเริ่มผ่าตัดต่อเมื่อคนไข้มีอาการมากขึ้น มีอาการปวดขา ชาขา เดินไกลไม่ได้ ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ มีอาการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะลำบาก จะทำการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับเส้นประสาท โดยการผ่าตัดเข้าไปขยายโพรงกระดูกสันหลังจะช่วยลดการกดทับเส้นประสาท อาจจะมีการใส่สกรูยึดกระดูกสันหลังให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้น เวลาที่คนไข้เป็นหลายระดับก็จะใส่สกรูเข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ระยะเวลาในการรักษาตัวที่ โรงพยาบาลประมาณ 5-7 วัน หลังจากนั้นก็กลับบ้านได้ โดยห้ามก้มหรือทำงานหนักเป็นเวลา 3 เดือน โดยจะทำการนัดคนไข้สังเกตอาการดูแลเป็นระยะ การรักษาโดยการผ่าตัดคนไข้ไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดเนื่องจากสามารถฟื้นตัวเองได้เรื่อยๆ

   สุดท้ายผู้ป่วยที่มีอาการปวดเอว ปวดหลังร้าวลงขา ลุกเดินนานไม่ได้ แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรักษาอย่างตรงจุดโดยแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกโรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา

 

สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่นี่ (คลิก)

โทรหาเราได้ที่

033-050-600

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่



โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา จำกัด

88/122-123 หมู่ 13 ถนนฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม ตำบลบางตีนเป็ด

อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000

โทรศัพท์ : 033-050-600 แฟกซ์ : 033-050-690